ช่วงของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในยามที่รู้สึกเศร้าหมอง ในยามที่มีความสุข หรือในยามที่ท้อแท้ เพลงจะเป็นเพื่อนสนิทต้องการพลังให้ลุกขึ้นก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อ อย่างเช่น บทเพลง ทานตะวัน ที่เขียนเนื้อร้องโดย อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรซ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เขียนเพลงนี้เพื่อเป็นการปลอบขวัญกำลังใจให้กับคนพลัดถิ่น คนไกลบ้าน ซึ่งถ้าใครเคยไกลบ้าน แล้วฟังเพลงนี้ จะสัมผัสได้ถึงพลังของเพลงนี้ได้อย่างดี ฟังแล้วแม้จะทำให้น้ำตาไหล แต่หัวใจก็จะเปี่ยมสุข
เพราะคำร้องของบทเพลงทานตะวันสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังได้รู้สึกเหมือนได้กลับบ้านสัมผัสกับรวงข้าวในทุ่งกว้าง ด้วยเนื้อหาของเพลงที่บรรยายให้เห็นถึงบรรยากาศชนบทของเมืองไทยที่สวยงาม ด้วยภาษาที่แสนงดงามของคล้องจองของ ท่านอาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ผู้ที่ใช้ภาษาไทยให้งดงามจนต้องหลงรักภาษาไทยอย่างถอนตัวไม่

ทานตะวัน จึงเป็นบทเพลงแห่งการปลอบขวัญ ให้กำลังใจของคนที่ต้องจากบ้าน ให้มีขวัญและกำลังใจที่มั่นคงดั่งเช่น “ดอกทานตะวัน” ดอกไม้มหัศจรรย์ ที่หันหน้าเข้าสู้แสงที่ร้อนแรงของพระอาทิตย์ได้โดยไม่กลัวความร้อนที่แผดเผา
เปรียบเช่นชีวิตมนุษย์ที่ต้องเจอปัญหาและอุปสรรคของชีวิตทานตะวันจึงเป็นตัวอย่างของความหวัง และการเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังส่องแสงให้ความสว่าง

บทเพลงทานตะวันนอกจากจะมีภาษาที่งดงามของกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้ว ยังมี เสียงขลุ่ยของ อาจารย์ ธนิสร์ ศีรกลิ่นดี ขุนพล ดนตรี “ขลุ่ย” ระดับ ปรมาจารย์ ของประเทศมาเพิ่มงามงดงาม ไพเราะ จับจิตจับใจให้กับบทเพลงขึ้นมาอีก
ส่วนศิลปินนักร้องที่นำมาถ่ายทอดก็มีหลายคนตามยุคสมัย แต่ที่มีน้ำเสียงที่นุ่มไพเราะอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งก็คือ ศิลปิน ฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน ที่ถึงไม่ได้ใช้เสียงขลุ่ยของ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดีแต่นำ เครื่องดนตรีเป่าอย่างแซ็กโซโฟนมาประกอบแทน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ ความไพเราะ ความงดงาม และความหมายของบทเพลงทานตะวันลดน้อยลงไปเลยแม้แต่นิด ติดตามเรื่องราวของบทเพลงและดนตรีอีกมากมายหลากหลายแนวได้ที่ ข่าวสารวงการเกม